Power Supply ATX Connector

ใบงานที่ 3
Power Supply ATX Connector


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ supply cougar

     แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้น
     ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆ ดังนี้ ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX
ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector)
ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น


หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย

พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง



ส่วนของสาย



-12V : ไฟ-12V ใช้สำหรับสัญญาณเชื่อมต่อของพอร์ตอนุกรม (serial port หรือ com port) คู่กับไฟ +12V เท่านั้นซึ่งสัญญานี้แทบจะไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน ถ้าใช้ก็ไม่มากนัก จึงมีกระแสที่จ่ายออกมาได้ไม่เกิน 1 แอมป์เท่านั้น

-5V : เมื่อก่อนนี้ไฟ –5โวลต์ ใช้กับไดรว์ฟล็อปปี้ดิสก์และวงจรของการ์ด ISA บางตัว ซึ่งต้องการกระแสไม่มากนัก จึงจำกัดอยู่ทีไม่เกิน 1 แอมป์เท่านั้น

0V : หมายถึง กราวนด์ ซึ่งใช้เทียบกับสัญญาณไฟต่าง ๆ ในเครื่อง

+3.3V : เป็นแรงดันใหม่ที่เพิ่งมีในยุคหลังที่ซีพียูเริ่มทำงานที่แรงดันไฟต่ำกว่า 5โวลต์ ยุค Pentium เป็นต้นมา) มาตรฐานนี้เริ่มถูกกำหนดในเพาเวอร์

+5V : ไฟ +5V ซึ่งเดิมมีบทบาทมากในเครื่องและเพาเวอร์ซัพพลายแบบ ATก็ยังคงต้องใช้อยู่มากในปัจจุบันสำหรับเมนบอร์ดและไดรว์ต่าง ๆ ซึ่งยังทำงานที่ 5 โวลต์อยู่

+12V : ไฟ + 12V เป็นแรงดันไฟสำหรับมอเตอร์ของดิสก์และพัดลมเป็นหลักนอกนั้นก็จะมีอุปกรณ์อื่น ๆ ได้แก่ สัญญาณพอร์ตอนุกรมและการ์ดบางตัวที่ยังต้องการใช้อยู่


การเลือกซื้อPower Supply


การเลือกซื้อ Power Supply (พาวเวอร์ซัพพลาย หรือเรียกง่ายๆมันคือตัวที่จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ภายในคอมฯ)

Power Supply เป็นอุปกรณ์ที่หลายๆคนมองข้ามและไม่ค่อยเห็นความสำคัญ แต่จงรู้ไว้เถิดว่าการเลือกใช้ Power Supply คุณภาพต่ำคือต้นเหตุแห่งปัญหา 108 อย่าง และเป็นตัวบั่นทอนอายุการใช้งานอุปกรณ์อื่นๆภายในคอมพิวเตอร์ตัวเก่งของเรา ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสำหรับคอมเกมอย่างเราๆ ผมแนะนำให้เน้นไปที่ Power Supply ที่มีมาตรฐานและเครื่องหมาย 80plus หรือ 80+ ซึ่งเป็นเครื่องการันตีว่า ประสิทธิภาพในการจ่ายไฟแน่นอน รองรับ full-load หรือภาระในการจ่ายไฟสูงสุดคงที่แน่นอน หรือที่คนเล่นคอมส่วนใหญ่เรียกกันว่าเป็น Power Supply "วัตต์เต็ม" โดยจะเห็นเครื่องหมายดังนี้ติดอยู่ข้างกล่อง

80+            Imageผลการค้นหารูปภาพสำหรับ supply cougar
percent loading 100% , efficiency > 80%

80+ bronze   Imageผลการค้นหารูปภาพสำหรับ supply cougar 80 +
percent loading 100% , efficiency > 82%
80+ silver     Image
percent loading 100% , efficiency > 85%

80+ gold      Imageผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 80+ gold Thermaltake
percent loading 100% , efficiency > 87%

80+ platinum Imageรูปภาพที่เกี่ยวข้อง
percent loading 100% , efficiency > 89%

ไล่เรียงตามประสิทธิภาพน้อยไปมาก นะครับ ตัวที่มีเครื่องหมาย platinum ถือว่าดีสุดๆแล้ว

ควรจะต้องเผื่อไว้ 100W เป็นอย่างน้อยนะครับ
สำหรับคนที่คิดจะประกอบคอมใหม่ๆไม่ค่อยมีความรู้เรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากนัก ผมมีคำแนะนำง่ายๆกรณีที่เป็นคอมพิวเตอร์ประกอบงบประมาณไม่มาก อาจจะเลือกใช้ Power Supply ธรรมดาๆแต่วัตต์สูงๆไว้ก่อนได้ครับ แต่เน้นยี่ห้อและการรับประกันเป็นหลัก อาจจะทำให้สบายใจขึ้นมาได้บ้างครับ เอาไว้พอมีงบประมาณค่อยเปลี่ยนแปลงทีหลัง

ประสิทธิภาพของPower Supply

 

ประสิทธิภาพ มันคือประสิทธิภาพของอะไรล่ะ? ประสิทธิภาพในการจ่ายไฟสูงสุดตามสเป๊คเหรอ? ไม่ใช่ครับ 80plusคือมาตรฐานที่บ่งบอกประสิทธิภาพในการแปลงไฟจากปลั๊กไฟบ้านเรา ไปสู่ระบบต่าง ๆ ในเครื่องเราครับ ว่ามันจะต้องสูญเสียกำลังไฟพลังงานไปกับการแปลงไฟขนาดไหน
เช่น Efficiency ที่ 75% ก็แสดงว่าอุปกรณ์นั้นสูญเสียพลังงานไปกับการแปลงไฟไป 25% ครับ (จากไฟบ้าน100หน่วยเอามาใช้จริงในคอม75หน่วย แต่เวลาเราจ่ายค่าไฟบ้านก็ต้องจ่าย100หน่วย)
หรือจะพูดง่าย ๆ คือ ยิ่งถ้าค่านี้มีมากเท่าไหร่ คอมของเราก็จะประหยัดไฟขึ้นนั่นเอง ลองคำนวณเล่น ๆ นะครับ สมมติว่าผมมีคอมที่ อุปกรณ์ภายในเครื่องคอมผมเนี่ยกินไฟที่ 350 W (วัตต์) ... แล้วในเครื่องคอมผมเนี่ยใช้ Power Supply ที่มีค่า Efficiency สูงสุดที่ 75% ... ดังนั้นเวลาผมใช้คอมพิวเตอร์ ตัวคอมพิวเตอร์ของผมก็จะกินไฟจริง ๆ จากปลั๊กที่ ... 350 / 0.75 = ~466 W


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประเภทของปริ้นเตอร์

วิเคราะห์ CPU Intel Core i9 - 7900X Processors