สแกนเนอร์และบาร์โค้ด
สแกนเนอร์
สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้ดังนี้
- ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายใน เอกสาร
- บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
- แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ด. โปรเซสเซอร์
- เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงไปใน. ผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ
ชนิดของเครื่องสแกนเนอร์
สแกนเนอร์สามารถจัดแบ่งตามลักษณะทั่วๆ ไป ได้ 2 ชนิด คือ
Flatbed scanners, ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMaker III

Transparency and slide scanners, ซึ่งถูกใช้สแกนโลหะโปร่ง เช่น ฟิล์มและ สไลด์
การจับภาพของสแกนเนอร์ ทำโดยฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพ จะถูกจับโดยเซลล์ที่ไวต่อแสง เรียกว่า charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะสะท้อนแสงได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสงได้มากกว่า CCD จะสืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับ
จากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น และเปลี่ยนคลื่นของแสงที่สะท้อน กลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอล หลังจากนั้นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงเอาสัญญาณเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพ บนคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง
บาร์โค้ด
ในโลกปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างมาก หนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญนั้นได้แก่ระบบบ่งชี้อัตโนมัติ (Auto-ID : automatic identification) ซึ่งระบบAuto-IDได้เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแทบทุกภาคส่วนธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการจัดการคลังสินค้า(Warehouse),
อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) , ร้านค้า (Retail) , สถานพยาบาล (Healthcare) , การขนส่ง (Logistic) เป็นต้น ระบบ Auto-ID ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในโลกธุรกิจปัจจุบันได้แก่ ระบบบาร์โค้ด (Barcode System)
1D Barcode (1 Dimension Barcode)
หมายถึงบาร์โค้ดหนึ่งมิติ ที่ใช้หลักการเข้ารหัสเลขฐานสอง (Binary codes) โดยความหนาของแท่งสีดำกับแท่งสีขาวในบาร์โค้ดจะเป็นตัวบ่งชี้ไปยังข้อมูลตัวเลขที่กำกับไว้ด้านล่างของบาร์โค้ด เทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดหนึ่งมิติได้แก่ Laser และ Linear ลักษณะของการนำบาร์โค้ดหนึ่งมิติไปประยุกต์ใช้คือการนำข้อมูลตัวเลขในบาร์โค้ดบ่งชี้ไปยังข้อมูลของสินค้าชนิดนั้นๆ เช่น บาร์โค้ดรหัส 000001 ใช้แทนสินค้า A , บาร์โค้ดรหัส 000002 ใช้แทนสินค้า B เป็นต้น
2D Barcode (2 Dimension Barcode) : หมายถึงบาร์โค้ดสองมิติ ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐาน
1. CCD Scanner จะเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นตัวปืน มีข้อดีในการใช้งานกลางแจ้งบริเวณที่มีแสงสว่างมากๆ แต่ข้อเสียก็คือการยิงบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่านชนิดนี้จำเป็นต้องใช้กับบาร์โค้ดที่มีลักษณะพื้นผิวแบนเรียบเท่านั้น จำเป็นต้องยิงในระยะที่ไม่ห่างจากตัวบาร์โค้ดมากเกิน 1 นิ้ว และไม่สามารถอ่านบาร์โค้ดที่กว้างกว่าผิวหน้านำเข้าของตัวเครื่องได้
2. Laser Scanner เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีทั้งแบบพกพาติดตัวและการติดตั้งอยู่กับที่ มีข้อดีที่สามารถอ่านข้อมูลบาร์โค้ดในระยะที่ห่างจากตัวบาร์โค้ดได้พอสมควร การยิงจะใช้แสงเลเซอร์ยิงผ่านกระจกและไปตกกระทบที่ตัวบาร์โค้ดเพื่ออ่านข้อมูลจากแสงสะท้อนที่ย้อนกลับมาที่ตัวรับแสง ในการยิงจะเป็นการฉายแสงเลเซอร์ออกมาเป็นเส้นตรงเส้นเดียว มีขนาดเล็ก และความถี่เดียว แสงเลเซอร์จึงไม่กระจายออกไปนอกพื้นที่ที่ต้องการอ่านข้อมูลทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี นอกจากนี้ในหลายๆรุ่นยังสามารถตั้งให้ทำงานโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีแถบบาร์โค้ดเคลื่อนผ่านหน้าหัวอ่าน โดยจะประยุกต์ใช้ร่วมกับขาตั้งเครื่องอ่านบาร์โค้ด
3. Omnidirectional Scanner เป็นเครื่องอ่านแบบเลเซอร์ ลักษณะการทำงานเหมือนกัน แต่มีการฉายแสงเลเซอร์ออกมาลายเส้นหลายทิศทาง มีลักษณะตัดกันไปมาเหมือนใยแมงมุม ซึ่งจะเหมาะกับการอ่านบาร์โค้ดบนสินค้าซึ่งไม่ได้มีการติดตำแหน่งของบาร์โค้ดในจุดเดียวกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน แต่จะมีราคาที่สูงกว่าเครื่อง Laser Scanner จึงมักนิยมใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
4. Imager Scanner เป็นเครื่องอ่านที่ใช้หลักการในการจับภาพของตัวบาร์โค้ด เช่นเดียวกันกับกล้องถ่ายรูป และใช้เทคนิคการประมวลผลภาพที่ทันสมัยในการถอดรหัสบาร์โค้ด สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กมากๆได้ และสามารถทำงานได้ในระยะห่างจากบาร์โค้ดมากยิ่งขึ้น แต่จะประมวลผลข้อมูลที่ช้ากว่าเครื่องอ่านแบบเลเซอร์อยู่เล็กน้อย
หลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค๊ด
1. เครื่องอ่าน (Reader) ฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค๊ด
2. รับแสงที่สะท้อนกลับมาจากตัวบาร์โค๊ด
3. เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
4. เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได
2D Barcode (2 Dimension Barcode) : หมายถึงบาร์โค้ดสองมิติ ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐาน
เครื่องสแกนเนอร์
หลักการเดียวกันกับบาร์โค้ดหนึ่งมิติ
บาร์โค้ดหนึ่งมิติมีลักษณะการแทนข้อมูลที่เป็นตัวเลขเท่านั้น
แต่สำหรับบาร์โค้ดสองมิติจะสามารถบ่งชี้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรได้
นอกจากนั้นบาร์โค้ดสองมิติจะสามารถจุข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ดหนึ่งมิติ
รูปแบบของบาร์โค้ดสองมิติที่นิยมใช้โดยทั่วไปคือ QR-Code
พัฒนาขึ้นโดยประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีทั้งตัวเลขและตัวอักษรรวมกันเช่น
URL Website , ID Line เป็นต้น และ Data Matrix
พัฒนาโดยประเทศสหรัฐอเมริกานิยมใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์
ที่ต้องการบาร์โค้ดขนาดเล็กและสามารถจุข้อมูลได้มาก
เทคโนโลยีเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดสองมิติได้แก่
Array Imager ที่สามารถอ่านได้ทั้งบาร์โค้ดหนึ่งมิติและบาร์โค้ดสองมิติ1. CCD Scanner จะเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีลักษณะเป็นตัวปืน มีข้อดีในการใช้งานกลางแจ้งบริเวณที่มีแสงสว่างมากๆ แต่ข้อเสียก็คือการยิงบาร์โค้ดด้วยเครื่องอ่านชนิดนี้จำเป็นต้องใช้กับบาร์โค้ดที่มีลักษณะพื้นผิวแบนเรียบเท่านั้น จำเป็นต้องยิงในระยะที่ไม่ห่างจากตัวบาร์โค้ดมากเกิน 1 นิ้ว และไม่สามารถอ่านบาร์โค้ดที่กว้างกว่าผิวหน้านำเข้าของตัวเครื่องได้
2. Laser Scanner เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีทั้งแบบพกพาติดตัวและการติดตั้งอยู่กับที่ มีข้อดีที่สามารถอ่านข้อมูลบาร์โค้ดในระยะที่ห่างจากตัวบาร์โค้ดได้พอสมควร การยิงจะใช้แสงเลเซอร์ยิงผ่านกระจกและไปตกกระทบที่ตัวบาร์โค้ดเพื่ออ่านข้อมูลจากแสงสะท้อนที่ย้อนกลับมาที่ตัวรับแสง ในการยิงจะเป็นการฉายแสงเลเซอร์ออกมาเป็นเส้นตรงเส้นเดียว มีขนาดเล็ก และความถี่เดียว แสงเลเซอร์จึงไม่กระจายออกไปนอกพื้นที่ที่ต้องการอ่านข้อมูลทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี นอกจากนี้ในหลายๆรุ่นยังสามารถตั้งให้ทำงานโดยอัตโนมัติได้เมื่อมีแถบบาร์โค้ดเคลื่อนผ่านหน้าหัวอ่าน โดยจะประยุกต์ใช้ร่วมกับขาตั้งเครื่องอ่านบาร์โค้ด
3. Omnidirectional Scanner เป็นเครื่องอ่านแบบเลเซอร์ ลักษณะการทำงานเหมือนกัน แต่มีการฉายแสงเลเซอร์ออกมาลายเส้นหลายทิศทาง มีลักษณะตัดกันไปมาเหมือนใยแมงมุม ซึ่งจะเหมาะกับการอ่านบาร์โค้ดบนสินค้าซึ่งไม่ได้มีการติดตำแหน่งของบาร์โค้ดในจุดเดียวกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน แต่จะมีราคาที่สูงกว่าเครื่อง Laser Scanner จึงมักนิยมใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
4. Imager Scanner เป็นเครื่องอ่านที่ใช้หลักการในการจับภาพของตัวบาร์โค้ด เช่นเดียวกันกับกล้องถ่ายรูป และใช้เทคนิคการประมวลผลภาพที่ทันสมัยในการถอดรหัสบาร์โค้ด สามารถอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กมากๆได้ และสามารถทำงานได้ในระยะห่างจากบาร์โค้ดมากยิ่งขึ้น แต่จะประมวลผลข้อมูลที่ช้ากว่าเครื่องอ่านแบบเลเซอร์อยู่เล็กน้อย
หลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค๊ด
1. เครื่องอ่าน (Reader) ฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค๊ด
2. รับแสงที่สะท้อนกลับมาจากตัวบาร์โค๊ด
3. เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
4. เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น